กำจัด 9 จุดอ่อน แก้ปัญหากู้ (ซื้อบ้าน) ไม่ผ่าน

แผนการเงินอย่างมีระเบียบเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณพร้อมที่จะก้าวสู่การซื้อบ้าน เรามาเรียนรู้เคล็ดลับการกำจัดจุดอ่อนที่มีผลต่อการขอสินเชื่อ

ปัจจุบัน สถาบันการเงินก็มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากหนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเกือบๆร้อยละ 80 ของ GDP สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือมีตัวเลขการปฏิเสธให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยแต่ละโครงการจะอยู่ที่ 10-15% (จากยอดจอง) แต่บางแห่งอาจสูงขึ้นถึง 20-25% เลยทีเดียว

ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการยื่นขอกู้ซื้อบ้านแล้วไม่ผ่าน ทางโครงการอารัญจึงมีคำแนะนำให้กำจัด 9 จุดอ่อน ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงินดังนี้

  1. มีบัตรเครดิตหลายใบ ในการพิจารณาวงเงินที่จะให้สินเชื่อซื้อบ้าน แบงก์จะนำวงเงินจากบัตรเครดิตทุกใบที่มีอยู่มาคิดรวมเป็นภาระหนี้สินถึงแม้ว่าบัตรนั้นจะไม่ได้ใช้ก็ตาม ทางที่ดีควรเก็บไว้แต่บัตรเครดิตที่จำเป็นๆ ใบไหนไม่ใช้ก็ควรปิด เพราะหากภาระหนี้สินที่มีทั้งหมดเกินกว่า 40 % ของรายได้รวมทั้งหมดส่งผลให้กู้ได้น้อยลงหรือกู้ไม่ผ่านในที่สุด
  1. ผ่อนสินค้ากับบัตรเครดิต ปัจจุบันนอกเหนือจากบัตรเครดิตแล้วยังมีบัตรสำหรับผ่อนชำระสินค้าอื่นๆ ควรรีบผ่อนให้หมดแล้วปิดทันที เพราะถ้ายังติดผ่อนบัตรอยู่ ก็จะถูกนำมาคิดรวมเวลาพิจารณาสินเชื่อด้วยเช่นกัน
  2. จะยื่นกู้บ้านควรเช็คเครดิตบูโรก่อน ปัญหาไม่ตรวจเช็คเครดิตบูโรเมื่อเรายื่นกู้ทางธนาคารจะเช็คประวัติเครดิตบูโรทันที ซึ่งเครดิตบูโรจะเก็บรวบรวมข้อมูลการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตทั้งยอดคงค้าง และการผิดประวัติชำระหนี้ย้อนหลังไม่เกิน 36 เดือน บางคนมีหนี้หรือค้างชำระหนี้โดยไม่รู้ตัว ทางที่ดีควรเช็คก่อนยื่นกู้ ผู้ขอสินเชื่อมีประวัติการชำระสินเชื่อที่ไม่ดี มีการค้างชำระหรือผิดนัดชำระ หรือแม้กระทั่งไม่เคยมีประวัติสินเชื่อกับสถาบันการเงินก็มีจะโอกาสน้อยลง หรือถึงขั้นไม่อนุมัติสินเชื่อให้ก็เป็นได้
  3. ติดผ่อนรถยนต์ สาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่แบงก์ปฏิเสธการให้สินเชื่อก็เนื่องจาก ปัญหาติดผ่อนรถยนต์คันแรกดังนั้นก่อนยื่นกู้ควร Pre-approve กับสถาบันการเงินก่อนเพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้ว่ายังผ่อนบ้านเพิ่มได้อีกหรือไม่
  4. การค้ำประกัน ปัญหาการค้ำประกันคือจะถูกธนาคารนำมาคิดเป็นภาระหนี้ของคุณด้วยทำให้ความสามารถในการกู้ลดลงนั่นเอง
  5. ไม่ออมเงิน หากไม่มั่นใจในรายได้หรืออาชีพของตัวเองว่าแบงก์จะปล่อยกู้หรือไม่ การออมเงินเป็นการสร้างเครดิตที่ดีให้กับตัวเอง เพื่อที่ทางธนาคารจะมั่นใจได้ว่าเรามีวินัยทางการเงิน ดังนั้นในบัญชีควรจะมีเงินออมเป็นบัญชีฝากประจำประมาณ 1-2 ปี
  6. ผู้กู้ร่วม การมีผู้กู้ร่วมที่มีอาชีพมั่นคง และมีเครดิตดีๆเช่น ข้าราชการ , พนักงานรัฐวิสาหกิจ , แพทย์ , อัยการ ทำให้เรามีโอกาสได้รับสินเชื่อได้ง่ายมากขึ้น
  7. ระยะเวลาการผ่อน แนะนำให้เลือกระยะเวลาการผ่อนชำระบ้านที่นานๆไว้ก่อน เช่น 25-30 ปี เพื่อไม่กระทบกับรายได้มากนัก เพราะหากเกิดปัญหาทางการเงิน เราก็ยังสามารถผ่อนชำระต่อเดือนได้อยู่ ในทางกลับกันถ้ามีรายได้เพิ่มขึ้นก็สามารถโปะได้ หรือไม่ต้องผ่อนนานตามที่กำหนดไว้ได้
  8. เลือกบ้านไม่เหมาะกับกำลังซื้อ ในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยขอให้คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก และคำนึงถึงค่าใช้จ่ายหลังผ่อนที่จะเหลือใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหลัก ไม่ใช่แค่เลือกบ้านที่เราชอบเท่านั้น การเลือกบ้านที่เกินกำลังซื้อของเราจะทำให้โอกาสกู้ผ่านน้อยลงไปอีก

นอกจากเคล็ดลับกำจัดจุดอ่อนในการซื้อบ้านที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หากต้องการปรึกษาพูดคุยเรื่องบ้านเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ 091-794-4728 ปรึกษาได้ฟรี โครงการบ้านอารัญ ARAN ยินดีให้คำแนะนำกับทุกท่านค่ะ ^^